จากสถิติข้อมูลการใช้ไฟฟ้าที่รวบรวมโดย International Energy Agency พบว่าภาคอาคารและบ้านพักอาศัยมีสัดส่วนการใช้พลังงานสูงถึง 36% และพบว่าการใช้ไฟฟ้าเพื่อการส่องสว่างภายในอาคารมีสัดส่วนที่อาจจะสูงถึง 30% ดังนั้นศักยภาพในการประหยัดพลังงานของการส่องสว่างในอาคารจึงมีสูงมาก แนวทางที่เป็นไปได้คือการใช้แสงธรรมชาติที่ได้รับการพิสูจน์จากนักวิทยาศาสตร์ทางอาคารแล้วว่าหากมีการออกแบบการใช้แสงธรรมชาติที่ดีจะสามารถทดแทนแสงส่องสว่างจากหลอดไฟฟ้ได้ทั้งอาคาร
การใช้หลังคาใส หรือหลังคาโปร่งแสงเป็นตัวอย่างที่ดีในการนำแสงธรรมชาติมาใช้เพื่อการส่องสว่างภายในอาคารอย่างไรก็ตามการเลือกวัสดุที่ใช้เป็นหลังคาโปร่งแสงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่นอกจากจะต้องคำนึงถึงแง่มุมความสวยงามทางสถาปัตยกรรมและความแข็งแรงทนทานทางวิศวกรรมแล้ว ยังต้องคำนึงถึงประเด็นด้านพลังงานด้วย ทั้งนี้เพราะว่าพลังงานจากรังสีอาทิตย์มีค่ามหาศาล การใช้แผ่นหลังคาโปร่งแสงจะพิจารณาเพียงประโยชน์จากการใช้แสงธรรมชาติและการประหยัดในส่วนของไฟฟ้าส่องสว่างเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องคำนึงถึงความร้อนดวยเพราะจะมีผลกระทบต่อเนื่องถึงความสิ้นเปลืองพลังงานที่ต้องใช้ในการปรับอากาศหากอาคารมีการปรับอากาศ แต่สำหรับอาคารที่ไม่ได้ปรับอากาศความร้อนที่เข้ามาในตัวอาคารจะทำให้อุณหภูมิอากาศในอาคารสูงขึ้นไม่เป็นผลดีต่อความสบายของผู้อยู่อาศัย
หากจะอธิบายอย่างคร่าวๆ ถึงกลไกการถ่ายเทความร้อนและแส่งส่องผ่าน แสงของหลังคาโปร่งแสง อาจอธิบายได้ดังนี้ คือ เมื่อรังสีอาทิตย์กระทบบนผิวด้านนอกของแผ่นหลังคา รังสีอาทิตย์ส่วนหนึ่ง (ซึ่งรวมถึงช่วงที่เป็นแสงซึ่งตาคนเรามองเห็น) จะผ่านเข้าไปในอาคารได้โดยตรง บางส่วนถูกสะท้อนกลับ ขณะส่วนที่เหลือจะถูกถ่ายเทกลับสู่สิ่งแวดล้อมภายนอกในส่วนที่เหลือจถูกถ่ายเข้าสู่ภายใต้ตัวอาคาร เราสามารถพิจารณาคุณสมบัติความร้อนและแสงของวัสดุโปร่งแสงใดๆ ได้จากค่า Solar Heat Gain Coefficient (SHGC) ซึ่งเป็นค่าที่แสดงถึงปริมาณพลังงานที่ผ่านวัสดุโปร่งแสงเข้าภายในอาคาร ซึ่่งประกอบด้วยสองส่วน คือ
1. รังสีอาทิตย์ที่เป็นคลื่นสั้นซึ่่งผ่านเข้ามาในอาคารตรง
2. ส่วนของความร้อนที่ดูดกลืนไว้ที่เนื้อวัสดุและค่อยถ่ายเทเข้ามาในอาคาร
ค่า SHGC ของวัสดุโปร่งแสงใดๆ จะมีค่าระหว่าง 0-1.0 นอกจากนี้คุณสมบัติด้านการยอมให้แสงธรรมชาติส่องผ่านสามารถดูได้จากค่า Light Transmittance (L) ซึ่งเป็นค่าที่แสดงสัดส่วนของแสงที่ผ่านวัสดุโปร่งแสงเทียบกับแสงที่ตกกระทบมีค่าอยู่ระหว่าง 0-1.0 เช่นเดียวกับค่า SHGC หรือเขียนเป็นเปอร์เซนต์ การส่องแสงมีค่าระหว่าง 0-100% เรามีหลังพิจารณาง่ายๆ ในการเลือกแผ่นโปร่งแสงเพื่อประหยัดพลังงานโดยพิจารณาจากค่า SHGC และ ค่า Light to Solar Gain (LSG)
ที่เป็นค่าสัดส่วนระหว่างค่า L กับค่า SHGC แผ่นหลังคาโปร่งแสงที่ดีควรมีค่า SHGC น้อยๆ และมีค่า LSG มากๆ
แอมเพิลไลท์ ซึ่งเป็นผู้นำผลิตภัณฑ์หลังคาโปร่งแสงดวยเทคโนโลยีชั้นสูงจากประเทศออสเตรเลียได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Ampelite WonderCOOL IR หนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการวิจัยและพัฒนา จนมั่นใจได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับส่ิงแวดล้องด้วยกระบวนการผลิตที่พิสูตรแล้วว่ามีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าหลังคาประเภทอื่นๆ และจากกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจนถึงเมื่อมีการติดตั้งบนหลังคาอาคารจะช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงานจากการกระจายแสงธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพ และให้ความสบายทางสายตาทั้งนี้หลังคาโปร่งแสง Ampelite WonderCOOL IR ได้ผ่านการทดสอบจากห้องปฏิบัติการพบว่ามีค่า SHGC น้อยมากเพียง 0.202 มีค่า Light Transmittance สูงถึง 0.440 (44%) และมีค่า LSG สูงถึง 2.178 ซึ่งหมายความว่าหลังคาโปร่งแสง Ampelite WonderCOOL IR ยอมให้แสงผ่านได้มากกว่าความร้อนถึง 2 เท่า ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าอาคารที่ติดตั้ง Ampelite WonderCOOL IR จะมีการประหยัดพลังงานทั้งในส่วนไฟฟ้าแสงสว่าง และที่สำคัญในส่วนไฟฟ้าที่ใช้ในการปรับอากาศ
จากข้อมูลที่ได้กว่ามา จะเห็นได้ว่า Ampelite WonderCOOL IR ตอบโจทย์ทั้งด้านพลังงานและการลดปัญหาโลกร้อนได้อย่างดี ผลิตภัณฑ์ Ampelite WonderCOOL IR ถูกเลือกใช้และได้รับการติดตั้งในอาคารหลายแห่งและได้พิสูจน์ให้เห็นว่าช่วยปรหยัดพลังงานได้มากกว่า 90% และระยะเวลาคืนทุนที่สั้น จึงนำสู่บทสรุปที่สำคัญว่าผลิตภัณฑ์ Ampelie WonderCOOL IR เป็นทางเลือกที่สำคัญของการสร้างอาคารประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ข้อมูลเพิ่มเติมผลิตภัณฑ์หลังคา และผนังไฟเบอร์กลาสโปร่งแสง Ampelite WonderCOOL IR ได้ที่ www.ampelite.co.th หรือ https://goo.gl/Ag6zzS
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น